เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย

นิทานคือ โลกของภาษา ซึ่งเกิดจากเรื่องเล่าที่ผูกเรื่องขึ้นด้วยภูมิปัญญา ภาพและตัวหนังสือที่ปรากฏในหนังสือนิทานเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน นิทานจึงเป็นงานเขียนที่มุ่งให้ความบันเทิง สอดแทรก แนวคิด คติสอนใจ และให้ความรู้ในด้านต่างๆ เช่น นิทานเกี่ยวกับธรรมชาติ และวิถีชีวิตตามธรรมชาติของสัตว์ต่าง นิทานลูกสัตว์” จึงเป็นศูนย์รวมสาระความรู้ ความบันเทิง ที่จะสามารถช่วยให้นักเรียนได้ซึมซับคุณค่า สิ่งดีงามและสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้ เชื่อมโยงสู่หลักภาษา และเป็นแรงบันดาลใจในการนำไปประยุกต์ใช้กับตนเองหรือ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

week3

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย
ภาคเรียนที่  ๑  Quarter    ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                                                                               ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
สัปดาห์ที่  ๓  วันที่  ๒๕ – ๒๙   พฤษภาคม  ๒๕๕๘                                                                                                                                  เวลาเรียน ๕  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
หน่วยการเรียนรู้ : นิทานลูกสัตว์

......................................................................................................................................................................................................................................


หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์ :          ลูกแมว
               
สาระสำคัญ :                                        เราแต่ละคนต้องการเพื่อน หรือใครสักคนที่จะอยู่ด้วย แม้แต่ในจินตนาการเราก็ไม่ได้อยู่เพียงลำพัง
Big  Question :                                 นักเรียนจะมีวิธีการดูแลมิตรภาพระหว่างเพื่อนและเป็นเพื่อนที่ดีอย่างไร


เป้าหมายย่อย :                                    นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผลสามารถอ่านและเขียนมาตรตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟัง การอ่านนิทานไปใช้ในชีวิตได้
Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









จันทร์
โจทย์
 ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา

คำถาม:
- นักเรียนจะดูแลตนเองทั้งต่อร่างกาย และจิตใจอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share แผนภาพโครงเรื่อง
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านนิทาน และสรุปนิทานที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานลูกสัตว์ต่างๆ

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนา ทักทาย ครูเล่าเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมในวันหยุดให้นักเรียนฟัง
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
  นักเรียนแต่งตอนจบใหม่ลูกแมวเพิ่มเติม
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้
ชิ้นงาน
แต่งเรื่องใหม่ ลูกแมวพร้อมวาดภาพประกอบ
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จาการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- อ่านออกเสียง การอ่านในใจ
-เขียนสรุปองค์ความรู้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน


Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









อังคาร
โจทย์
 การอ่าน การใช้ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา

คำถาม:
- นักเรียนจะใช้ใช้ตัวสะกดไม่ตรงมาตราในการอ่าน การเขียนอย่างไรเครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรื่องที่เรียนรู้
- Show and Share การแต่งประโยค แต่งเรื่องจากการใช้ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานลูกสัตว์ต่างๆ เรื่อง ลูกแมว
ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่อ่าน
ขั้นสอน
ชง:
-  นักเรียนเขียนคำศัพท์ใหม่จากเรื่องที่อ่าน (เขียนตามคำบอก)
-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “คำแต่ละคำมีความหมายอย่างไร” นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และวาดภาพประกอบคำศัพท์
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำศัพท์และความหมายของคำ รวมทั้งการนำคำไปใช้
 - นักเรียนช่วยกันเสนอแนะเกี่ยวกับการอ่านออกเสียงคำศัพท์ ความหมายของคำศัพท์ และการนำคำศัพท์ไปใช้ พร้อมทั้งช่วยกันเสนอแนะคำศัพท์เพิ่มเติมอีกครั้ง
ใช้:
นักเรียนนำคำศัพท์ (ตัวสะกดไม่ตรงมาตา)ไปใช้ในการแต่งเรื่องตามจินตนาการพร้อมวาดภาพประกอบ
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ พร้อมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับการเรียนรู้เพิ่มเติม

ชิ้นงาน
เขียนแต่งเรื่องจากคำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน

ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ความรู้
- คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
- การเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการ
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบประโยค
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น



Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome










พุธ
โจทย์
 การอ่าน การใช้ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา

คำถาม:
- นักเรียนจะใช้ใช้ตัวสะกดไม่ตรงมาตราในการอ่าน การเขียนอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรื่องที่เรียนรู้
- Show and Share การแต่งประโยค แต่งเรื่องจากการใช้ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
- Wall Thinking นิทานมาตราตัวสะกด
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานสัตว์ต่างๆ เรื่อง เดินเล่นในป่า

ขั้นนำ
- ครูเปิดคลิปตัวสะกดไม่ตรงมาตราให้นักเรียนดู
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่ามีมาตราตัวสะกดแม่ไหนบ้างที่ไม่ตรงมาตราบ้าง?
-ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้เกี่ยวกับมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตราที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหา

ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะมีวิธีช่วยจำตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แต่ละมาตราอย่างไร
เชื่อม:
- นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน ๕ คน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนการทำงาน สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องมือช่วยจำตัวสะกดไม่ตรงมาตรา (แม่กก แม่กน แม่กด แม่กบ)

ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มแต่งนิทานตัวสะกดไม่ตรงมาตรา

ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับตัวสะกดไม่ตรงมาตรา (รูป เสียง การนำไปใช้)
ชิ้นงาน
เขียนตัวสะกดไม่ตรงมาตรา

ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
- นำเสนอผลงาน และทบทวนพยัญชนะ และกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน มาตราตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบเรื่อง
แผนภาพโครงเรื่อง หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน (นิทานมาตราตัวสะกด)
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
-เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น


Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome







พฤหัสบดี
โจทย์
 การอ่าน การใช้ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
คำถาม:
- นักเรียนจะใช้ใช้ตัวสะกดไม่ตรงมาตราในการอ่าน การเขียนอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรื่องที่เรียนรู้
- Show and Share การแต่งประโยค แต่งเรื่องจากการใช้ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานลูกสัตว์ต่างๆ เรื่อง ลูกแมว
ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้เกี่ยวกับมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตราที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหา

ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะเรียนรู้คำศัพท์ตัวสะกดไม่ตรงมาตราเพิ่มเติมได้อย่างไร
เชื่อม:
- นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม กลุ่ม ๕ คน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนการทำงาน สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการการศึกษาค้นคว้าคำศัพท์ตัวสะกดไม่ตรงมาตราเพิ่มเติม

ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มแต่งเรื่องจากคำศัพท์ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา

ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
ชิ้นงาน
แต่งเรื่องสร้างสรรค์ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา

ภาระงาน
ศึกษาค้นคว้าคำศัพท์มาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน มาตราตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา

ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบเรื่อง
แผนภาพโครงเรื่อง หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน (คำศัพท์)
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
-เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์

คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น


Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









ศุกร์
โจทย์
 การอ่าน การใช้ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
คำถาม:
- นักเรียนจะใช้ใช้ตัวสะกดไม่ตรงมาตราในการอ่าน การเขียนอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรื่องที่เรียนรู้
- Show and Share สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านและมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานลูกสัตว์ต่างๆ เรื่อง ลูกแมว
ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรียนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด:
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากนิทานเรื่อง ลูกแมว จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไร
- นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์แสดงความคิดเห็น
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
ใช้:
นักเรียนสรุปองค์ความรู้เป็น Mind Mapping

ขั้นสรุป
ครูสุ่มให้นักเรียนนำเสนอผลงาน๕ คน
ชิ้นงาน
Mind Mapping การเรียนรู้จากนิทานลูกแมว และพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์

ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการเขียนเชิงสร้างสรรค์เพื่อสื่อเรื่องราวที่เรียนรู้
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับการนำสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ไปใช้ในการสื่อความหมายผ่านการเขียน การเล่า
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ความรู้
มาตราตัวสะกด ตรงและไม่ตรงมาตรา
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบ
 แผนภาพความคิด ที่ได้จากการอ่าน และการเรียนรู้ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน - ทำงานร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

ตัวอย่างชิ้นงาน









กิจกรรมการเรียนรู้





1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน

    ในสัปดาห์นี้นักเรียนเรียนรู้ผ่านนิทานเรื่อง ลูกแมวก่อนการอ่านครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับใครเลี้ยงสัตว์เคยเลี้ยงสัตว์อะไรบ้าง นักเรียนอ่านนิทานโดยอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน และอ่านทีละคนสลับกัน โดยในระหว่างที่อ่านครูและเพื่อนก็อ่านตามในใจไปพร้อมๆกันด้วย สลับอ่านเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนจบ เมื่ออ่านจบครูให้นักเรียนแต่ละคนผลัดกันเล่าเรื่องต่อกันจนจบเพื่อทบทวนความจำ ความเข้าใจต่อเนื้อเรื่องที่อ่าน แล้วตั้งคำถามกระตุ้นการคิด "นักเรียนได้เรียนรู้อะไร จะนำข้อคิดที่ได้จากนิทานไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร" เมื่อสรุปเรื่องที่อ่านแล้วนักเรียนแต่ละคนเขียนแต่งเรื่องตอนจบใหม่ พร้อมวาดภาพประกอบ

    ตอบลบ