เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย

นิทานคือ โลกของภาษา ซึ่งเกิดจากเรื่องเล่าที่ผูกเรื่องขึ้นด้วยภูมิปัญญา ภาพและตัวหนังสือที่ปรากฏในหนังสือนิทานเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน นิทานจึงเป็นงานเขียนที่มุ่งให้ความบันเทิง สอดแทรก แนวคิด คติสอนใจ และให้ความรู้ในด้านต่างๆ เช่น นิทานเกี่ยวกับธรรมชาติ และวิถีชีวิตตามธรรมชาติของสัตว์ต่าง นิทานลูกสัตว์” จึงเป็นศูนย์รวมสาระความรู้ ความบันเทิง ที่จะสามารถช่วยให้นักเรียนได้ซึมซับคุณค่า สิ่งดีงามและสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้ เชื่อมโยงสู่หลักภาษา และเป็นแรงบันดาลใจในการนำไปประยุกต์ใช้กับตนเองหรือ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

week7

  
แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย
ภาคเรียนที่    Quarter     ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
สัปดาห์ที่    วันที่  ๒๒ ๒๖  มิถุนายน  ๒๕๕๘                         เวลาเรียน   คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
หน่วยการเรียนรู้ : นิทานลูกสัตว์

......................................................................................................................................................................................................................................

หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์:            แมวและกระรอก

สาระสำคัญ :                                                   เมื่อเราอยากให้คนอื่นทำอย่างไรกับเรา เราต้องทำสิ่งนั้นกับเขาก่อน ต้องคิดก่อนทำ และทำทุกอย่างอย่างมีสติ
Big Question :                                                 เราจะทำอะไรให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น

เป้าหมายย่อย :                                    นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผลสามารถอ่านและเขียนคำควบกล้ำได้ นำมาประยุกต์ใช้ในการเขียนแต่งเรื่องจากภาพ และแต่งเรื่องได้อย่างสร้างสรรค์มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด สามารถฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟัง การอ่านนิทานไปใช้ในชีวิตได้


Day (วัน)
Input
Process ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









จันทร์
โจทย์
 อ่านหนังสือเรื่อง แมวและกระรอก
คำถาม:
จากหน้าปกและชื่อเรื่องคิดว่าหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาพูดถึงเรื่องอะไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share แผนภาพโครงเรื่อง
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านนิทาน และสรุปนิทานที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
นิทานลูกสัตว์ต่างๆ เรื่องแมวและลูกกระรอก
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนา ทักทาย “นักเรียนทำอะไรแล้วคิดว่าดีแล้วอยากให้มีคนทำตามบ้าง
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเอง อย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่ (ลงสมุดบันทึก)
ใช้:
  นักเรียนเขียนสรุปตอนจบใหม่
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้
ชิ้นงาน
เขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน

ภาระงาน
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการเลือก แยกแยะอย่างมีวิจารณญาณ
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน

ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จาการอ่าน
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น
อ่านออกเสียง การอ่านในใจ
-เขียนสรุปองค์ความรู้
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน


Day (วัน)
Input
Process ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
อังคาร
โจทย์
 เขียนตามคำบอก

คำถาม:
คำศัพท์สำคัญต่อการสื่อสารอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและการเขียนการอ่านสะกดคำ
- Show and Share คำศัพท์ใหม่ และความหมายของคำศัพท์
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความหมายของคำศัพท์
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
นิทานลูกสัตว์ต่างๆ แมวและลูกกระรอก
ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่อ่าน
ขั้นสอน
ชง:
-  นักเรียนเขียนคำศัพท์ใหม่จากเรื่องที่อ่าน (เขียนตามคำบอก)
-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด คำแต่ละคำมีความหมายอย่างไรนักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และวาดภาพประกอบคำศัพท์
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำศัพท์และความหมายของคำ รวมทั้งการนำคำไปใช้
 - นักเรียนช่วยกันเสนอแนะเกี่ยวกับการอ่านออกเสียงคำศัพท์ ความหมายของคำศัพท์ และการนำคำศัพท์ไปใช้ พร้อมทั้งช่วยกันเสนอแนะคำศัพท์เพิ่มเติมอีกครั้ง
ใช้:
นักเรียนนำคำศัพท์ ที่เขียนตามคำบอกไปใช้ในการแต่งเรื่องใหม่ ๑๐ คำ
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ พร้อมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องคำควบกล้ำ
ชิ้นงาน
แต่งประโยคจากคำศัพท์
ภาระงาน
-เขียนคำศัพท์ตามคำบอก วิเคราะห์ความหมายของคำ
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ความรู้
- คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
- การเขียนการอ่านสะกดคำ การเขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์

ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบเรื่องตามจินตนาการจากคำศัพท์ใหม่
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่อง เขียนแจกลูกคำ เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น



Day (วัน)
Input
Process ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
พุธ
โจทย์
คำควบกล้ำ

คำถาม
นักเรียนจะนำคำควบกล้ำมาใช้อย่างไร
เครื่องมือคิด
-Key Question คำถามกระตุ้นความคิดเกี่ยวกับคำควบกล้ำที่รู้จัก
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำควบกล้ำ
- Show and Share คำควบกล้ำที่รู้จัก และความหมายของคำ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
นิทานลูกสัตว์ต่างๆ เรื่อง แมวและลูกกระรอก
ขั้นนำ
- ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ครูเล่านิทานกลอนที่มีคำควบกล้ำ
-ครูถามนักเรียนว่า มีใครรู้จักคำควบกล้ำบ้าง คำควบกล้ำคืออะไร
ขั้นสอน
ชง:
- ครูตั้งคำถาม นักเรียนคิดว่า คำควบกล้ำคืออะไร เช่นอะไรบ้าง
-  ครูตั้งคำถาม “นักเรียนคิดว่าจากนิทานที่ครูเล่าให้ฟังมีคำไหนบ้างที่เป็นตัวควบกล้ำ” ใครมีคำตอบอื่นต่างจากเพื่อน
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนคำทายกันในชั้นเรียน
- นักเรียนแต่ละคนสะท้อนสิ่งที่ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน
ใช้:
นักเรียนแต่งนิทานคำควบกล้ำที่รู้จักอย่างน้อยคนละ ๑๐ คำ
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
ชิ้นงาน
แต่งนิทานจากคำควบกล้ำลงในสมุด

ภาระงาน
- เขียนคำควบกล้ำ
- แต่งนิทานจากคำควบกล้ำพร้อมวาดภาพ
ประกอบ


ความรู้
คำควบกล้ำที่ได้จากการอ่าน การแต่งนิทานจากคำควบกล้ำ

ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบเรื่องตามจินตนาการจากคำศัพท์ที่เป็นคำควบกล้ำ
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องจากคำควบกล้ำเขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น




Day (วัน)
Input
Process ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
พฤหัสบดี
โจทย์
 คำควบกล้ำ

คำถาม:
นักเรียนจะแต่งนำควบกล้ำมาแต่งนิทานได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share ประโยคต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิด
-พฤติกรรมสมอง แต่งประโยค แต่งนิทาน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
กระดาษทำนิทาน
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนา ทักทาย สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ทำในวันพุธ
ขั้นสอน
ใช้ :
ครูให้นักเรียน แต่งนิทานคำควบกล้ำพร้อมกับวาดภาพประกอบนิทานทำเป็นเล่มนิทาน
ชิ้นงาน
สมุดนิทานคำควบกล้ำ
ภาระงาน
- แต่งนิทานคำควบกล้ำ
นำเสนอนิทานคำควบกล้ำ
ความรู้
- ประโยคต่าง ๆ
- การเขียนแต่งประโยค และแต่งเรื่องอย่างสร้างสรรค์
ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบเรื่องตามจินตนาการจากประโยค
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องอย่างสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น




Day (วัน)
Input
Process ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
ศุกร์
โจทย์
การสรุปสิ่งที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์

คำถาม
สิ่งที่นักเรียนได้จากการอ่านและเรียนตลอดทั้งสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
เครื่องมือคิด
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนผ่านมาทั้งสัปดาห์
- Brainstorm ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนผ่านมา
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำควบกล้ำ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
กระดาษ A4
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรียนตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา
ขั้นสอน
ชง
ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด:
-     นักเรียนคิดว่า จะนำข้อคิดจากเรื่อง มีหมวกมาขายจ้าไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
-     นักเรียนคิดว่าคำควบกล้ำสามารถนำไปใช้อย่างไร
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน รวมไปถึงคำควบกล้ำ
 ใช้
นักเรียนสรุปสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับคำควบกล้ำ  (การ์ตูน นิทาน แผนภาพความคิด ฯลฯ)
ชิ้นงาน
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (การ์ตูน นิทาน แผนภาพความคิด ฯลฯ)

ภาระงาน
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ความรู้
-นักเรียนเข้าใจและสามารถสรุปองค์ความรู้ในเรื่องที่เรียนและนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
- การสรุปใจความ สาระสำคัญของหนังสือที่อ่านและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

 ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบเรื่องตามจินตนาการจากประโยค
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องอย่างสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

ตัวอย่างชิ้นงาน








กิจกรรมการเรียนรู้





1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน

    สัปดาห์นี้อ่านเรื่องแมวและลูกกระรอก ก่อนที่จะอ่านนิทานครูตั้งคำถามนักเรียนคิดว่าทำไมแมวถึงต้องเอาลูกกระรอกไปเลี้ยงโดยที่ไม่ใช้ลูกตัวเอง บ้าง นักเรียนบอกสิ่งที่ตัวเองทำดีให้เพื่อนฟัง หลังจากนั้นครูให้อ่านนิทาน เมื่ออ่านจบครูให้ช่วยกันทบทวนเนื้อเรื่อง เหตุการณ์ ตัวละคร และข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ครูให้ตั้งคำถามว่า ถ้าตัวเองเป็นแม่แมวจะทำอย่างไรจึงจะให้ลูกกระรอกทำตามได้ บางคนบอกว่า พี่ปราย : ลูกกระรอกทำตามแม่แมวไม่ได้เพราะว่าลูกกระรอกไม่ใช้ลูกแมว พี่เซน : เพราะว่าแม่แมวก็ยังคิดว่าลูกกระรอกเป็นลูกของตัวเอง พี่ออย : แม่แมวจะพยายามให้ลูกกระรอกคาบหนูเหมือนกับตัวเองให้ได้เลยต้องฝึกให้ตั้ง 3 รอบแต่ลูกกระรอกก็ไม่ยอมทำตามจากนั้นครูให้นักเรียนแต่งตอนจบของเรื่องใหม่ วันต่อมาครูให้เขียนตามคำบอกจากคำศัพท์ในนิทานและคำศัพท์พื้นฐานของชั้น ป.2 จากนั้นครูให้นำคำศัพท์มาแต่เป็นประโยคพร้อมกับวาดภาพประกอบ โดยคำที่ครูเลือกให้มาเขียนส่วนหนึ่งจะเป็นคำควบกล้ำ และให้นักเรียนเลือกคำควบกล้ำมา 1 คำแล้วครูให้นักเรียนตัดกระดาษเป็นวงกลมแล้วเลือกคำควบกล้ำมา 1 คำแล้วเขียนตรงกลางแล้วนักเรียนเขียนคำควบกล้ำลงไปแล้วนักเรียนเห็นคำนี้นึกถึงอะไรบ้างนักเรียนเขียนคำที่เชื่อมเข้ากับคำควบกล้ำลงไปในกระดาษวงกลมเพื่อจะนำไปสู่การเรียนในวันถัดมา วันต่อมาครูเขียนคำที่เป็นคำควบกล้ำไว้บนกระดาน แล้วถามนักเรียนว่า คำนี้อ่านว่าอะไรและเห็นอะไรจากคำนี้บ้าง ส่วนมากจะยังตอบไม่ค่อยได้ แต่พอมีเพื่อนพูดบางคนก็พอจะเข้าใจ ว่าตัวควบกล้ำจะต้องประกอบด้วยพยัญชนะกับ ตัว ร ล ว จากนั้นครูลองให้เขียนคำควบกล้ำที่รู้จักและแต่งประโยค และนำมาแต่งเป็นนิทานในวันถัดมา

    ตอบลบ