เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย

นิทานคือ โลกของภาษา ซึ่งเกิดจากเรื่องเล่าที่ผูกเรื่องขึ้นด้วยภูมิปัญญา ภาพและตัวหนังสือที่ปรากฏในหนังสือนิทานเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน นิทานจึงเป็นงานเขียนที่มุ่งให้ความบันเทิง สอดแทรก แนวคิด คติสอนใจ และให้ความรู้ในด้านต่างๆ เช่น นิทานเกี่ยวกับธรรมชาติ และวิถีชีวิตตามธรรมชาติของสัตว์ต่าง นิทานลูกสัตว์” จึงเป็นศูนย์รวมสาระความรู้ ความบันเทิง ที่จะสามารถช่วยให้นักเรียนได้ซึมซับคุณค่า สิ่งดีงามและสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้ เชื่อมโยงสู่หลักภาษา และเป็นแรงบันดาลใจในการนำไปประยุกต์ใช้กับตนเองหรือ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

week6

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย
ภาคเรียนที่  ๑  Quarter     ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                                                                                                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
สัปดาห์ที่  ๖ วันที่  ๑๕ – ๑๙   มิถุนายน  ๒๕๕๘                                                                                                                                                                                  เวลาเรียน ๕  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
หน่วยการเรียนรู้ : นิทานลูกสัตว์



......................................................................................................................................................................................................................................


หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์ :         แม่ไก่ดื้อ

สาระสำคัญ :                                        เราไม่ควรตามใจตนเองมากจนเกินไปเราควรเชื่องฟังคนอื่นบ้าง
Big  Question :                                 เมื่อเราอยากได้สิ่งใดสักอย่างที่ต้องใช้เงิน เราควรทำอย่างไร

เป้าหมายย่อย :                                    นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผลสามารถอ่านและเขียนมาตรตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา นำมาประยุกต์ใช้ในการเขียนแต่งเรื่องจากภาพ และสะกดคำได้อย่างสร้างสรรค์มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟัง การอ่านนิทานไปใช้ในชีวิตได้





Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









จันทร์
โจทย์
 อ่านวิเคราะห์เรื่อง
คำถาม:
เมื่อเราอยากได้ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ต้องใช้เงิน เราควรทำอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share แผนภาพโครงเรื่อง
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านนิทาน และสรุปนิทานที่อ่าน

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานลูกสัตว์ต่างๆ เรื่องแม่ไก่ดื้อ

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนา ทักทายเกี่ยวกับกิจกรรมวันหยุดที่ผ่านมา นักเรียนไปทำอะไรมาบ้าง
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่ (ลงสมุดบันทึก)
ใช้:
  นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน เป็นแผนภาพโครงเรื่อง
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้
ชิ้นงาน
เขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน

ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการเรียนรู้จากการเดินทาง
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน

ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จาการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- อ่านออกเสียง การอ่านในใจ
-เขียนสรุปองค์ความรู้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









อังคาร
โจทย์
 เขียนตามคำบอก

คำถาม:
คำศัพท์สำคัญต่อการสื่อสารอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและการเขียนการอ่านสะกดคำ
- Show and Share คำศัพท์ใหม่ และความหมายของคำศัพท์
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความหมายของคำศัพท์
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานลูกสัตว์ต่างๆ เรื่อง แม่ไก่ดื้อ


ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่อ่าน
ขั้นสอน
ชง:
-  นักเรียนเขียนคำศัพท์ใหม่จากเรื่องที่อ่าน (เขียนตามคำบอก)
-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “คำแต่ละคำมีความหมายอย่างไร” นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และวาดภาพประกอบคำศัพท์
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำศัพท์และความหมายของคำ รวมทั้งการนำคำไปใช้
 - นักเรียนช่วยกันเสนอแนะเกี่ยวกับการอ่านออกเสียงคำศัพท์ ความหมายของคำศัพท์ และการนำคำศัพท์ไปใช้ พร้อมทั้งช่วยกันเสนอแนะคำศัพท์เพิ่มเติมอีกครั้ง
ใช้:
นักเรียนนำคำศัพท์ ที่เขียนตามคำบอกไปใช้ในการแต่งประโยค ๑๐ประโยค
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ พร้อมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องการสะกดคำ การเขียนแต่งเรื่องเพิ่มเติม

ชิ้นงาน
เรื่องสร้างสรรค์

ภาระงาน
-เขียนคำศัพท์ตามคำบอก วิเคราะห์ความหมายของคำ
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ความรู้
- คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
- การเขียนการอ่านสะกดคำ การเขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์

ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบเรื่องตามจินตนาการจากคำศัพท์ใหม่
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่อง เขียนสะกดคำ  เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น




Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome










พุธ
โจทย์
 การประสมคำ (พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์)
คำถาม:
นักเรียนจะสามารถนำคำแต่ละคำมาประสมกันให้เกิดความหมายใหม่อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับการประสมคำ
- Show and Share ผลงานการประสมคำ- Wall Thinking ผลงานแต่งเรื่องสร้างสรรค์
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการแต่งเรื่องสร้างสรรค์จากภาพ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานลูกสัตว์ต่างๆ เรื่อง แม่ไก่ดื้อ


ขั้นนำ
ครูพานักเรียนเล่นเกมหาคำศัพท์ จากพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ที่กำหนดไว้บนกระดาน นักเรียนเห็นคำศัพท์คำใดบ้าง นักเรียนช่วยกันเสนอแนะ
ขั้นสอน
ชง:
- ครูเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์บนกระดาน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเห็นคำศัพท์ใดบ้าง ถ้าเรียงเป็นประโยคจะได้ประโยคว่าอย่างไรบ้าง”
- นักเรียนช่วยกันเสนอแนะคำศัพท์บนกระดาน และช่วยกันแต่งประโยคจากการประสมคำที่ได้เสนอแนะไว้
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการทำกิจกรรมว่าคำที่ได้เกิดขึ้นได้อย่างไร มีส่วนประกอบใดบ้าง (การประสมคำที่เกิดจากพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์มาประสมกันจนเป็นคำที่มีความหมาย )
ใช้:
-ครูเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์บนกระดาน นักเรียนช่วยเสนอแนะเพิ่มเติม
-นักเรียนเขียนประสมคำจากพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ แล้วนำไปใช้ในการแต่งเรื่องหรือแต่งประโยคพร้อมวาดภาพประกอบให้สวยงาม
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ พร้อมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องการประสมคำและการนำไปใช้อย่างเหมาะสม
ชิ้นงาน
ประสมคำและแต่งเรื่องหรือแต่งประโยค

ภาระงาน
-ศึกษาเกี่ยวกับการเขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์ (การประสมคำ)
- ผสมคำเพื่อสื่อความหมายและนำไปใช้อย่างเหมาะสม
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ความรู้
การประสมคำการสื่อความหมายและการนำไปใช้

ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์แก้ปัญหาระหว่างการทำงาน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งเรื่อง สร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น





Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome







พฤหัสบดี
โจทย์
 การประสมคำ

คำถาม:
นักเรียนจะสามารถนำคำแต่ละคำมาประสมกันให้เกิดความหมายใหม่อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์พื้นฐาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับการประสมคำ
- Show and Share ผลงานการประสมคำ- Wall Thinking ผลงานแต่งเรื่องสร้างสรรค์
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการแต่งเรื่องสร้างสรรค์จากภาพ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานลูกสัตว์ต่างๆ เรื่อง แม่ไก่ดื้อ


ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่เรียนรู้เกี่ยวกับการแต่งเรื่องสร้างสรรค์
ขั้นสอน
ชง:
- ครูนำคำศัพท์ติดบนกระดาน (คำเดี่ยว) นักเรียนอ่านและช่วยกันวิเคราะห์ความหมายของคำ
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะสามารถนำคำเหล่านั้นประสมคำกันให้เกิดความหมายใหม่ได้อย่างไร มีคำใดบ้าง”
- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการประสมคำ
เชื่อม:
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน ครูแจกบัตรคำให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม นักเรียนแต่ละกลุ่มผสมคำจากบัตรคำที่กำหนดให้ แล้วนำเสนอแลกเปลี่ยนความหมาย การสื่อความ และการนำไปใช้
 - นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการประสมคำและการนำไปใช้
ใช้:
นักเรียนเขียนแต่งเรื่องจากคำศัพท์ที่ได้จาการประสมคำ๑๐ คำ
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ พร้อมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องการประสมคำและการนำไปใช้อย่างเหมาะสม
ชิ้นงาน
เรื่องแต่งจากการประสมคำ

ภาระงาน
-ศึกษาเกี่ยวกับการเขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์ (การประสมคำ)
- ผสมคำเพื่อสื่อความหมายและนำไปใช้อย่างเหมาะสม
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ความรู้
การประสมคำการสื่อความหมายและการนำไปใช้

ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์แก้ปัญหาระหว่างการทำงาน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งเรื่อง สร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น




Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









ศุกร์
โจทย์
 การประสมคำ (พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์)

คำถาม:
- นักเรียนจะสามารถนำ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์มาแต่งเรื่องหรือแต่งประโยคเพื่อสื่อความหมายได้อย่างไร
-จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปปรับใช้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรื่องที่เรียนรู้(การประสมคำ)
- Show and Share สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการประสมคำ
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการประสมคำ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานลูกสัตว์ต่างๆ เรื่อง แม่ไก่ดื้อ
ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรียนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา

ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด:
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากนิทานแม่ไก่ดื้อและการประสมคำ จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไร
- นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์แสดงความคิดเห็น
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการประสมคำ
ใช้:
นักเรียนสรุปองค์ความรู้ตามความสนใจ(การ์ตูน นิทาน แผนภาพความคิด ฯลฯ)

ขั้นสรุป
ครูสุ่มให้นักเรียนนำเสนอผลงาน๕-๖ คน
ชิ้นงาน
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (การ์ตูน นิทาน แผนภาพความคิด ฯลฯ)

ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการประสมคำ
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับการนำสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ไปใช้ในการสื่อความหมายผ่านการเขียน ประสมคำและนำไปใช้ในการแต่งเรื่อง แต่งประโยค
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ความรู้
การประสมคำ (พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์)

ทักษะ
- คิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์การแต่งเรื่องจากภาพและการทำงาน
 แผนภาพความคิด ที่ได้จากการอ่าน และการเรียนรู้
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น


ตัวอย่างชิ้นงาน






กิจกรรมการเรียนรู้
















1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน

    นักเรียนสารมารถอ่านนิทานเรื่องแม่ไก่ดื้อโดยแต่ละคนอ่านในใจแล้วมาสรุปเรื่องที่อ่านให้ครูและเพื่อนๆฟัง นักเรียนแต่ละคนสามารถบอกข้อคิดและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องได้ดีและเชื่อมโยงสู่ตนเองได้เช่น พี่ใบตอง พี่ปราย : ถ้าเราไม่เชื่อฟังผู้อื่นเราก็จะเกิดอันตรายได้ พี่อองฟรอง: เราควรเชื่อฟังไม่ดื้อ พี่โซ่ :ถ้าผมเป็นแม่ไก่ดื้อผมจะเชื่อฟังนิทา พี่แพรวา : แม่ไก่ดื้ออยากออกจากกงเพราะว่าอยากเป็นอิสระถึงอยากออกไปถนน พี่โอเปิ้ล:แม่ไก่อยากออกไปถนนโดยที่ไม่ได้ระวังก็เลยโดนรถดับตาย สัปดาห์นี้ครูชงเข้าสู่หลักภาษาเรื่องการประสมคำโดยเขียน สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์บนกระดาน "นักเรียนเห็นคำศัพท์คำใดบ้าง" นักเรียนช่วยกันประสมคำ ได้หลากหลายมากแต่ส่วนใหญ่ยังเป็นคำเดี่ยว เมื่อนักเรียนได้ทบทวน "คำเกิดขึ้นได้อย่างไรแล้ว" ครูจึงเขียนคำเดี่ยวบนกระดาน นักเรียนช่วยกันนำคำอื่นมาประสมเพื่อให้เกิดความหมายใหม่ เมื่อนักเรียนได้คำแล้วจึงนำคำเหล่านั้นไปใช้ในการแต่งเรื่องหรือแต่งประโยคตามความสนใจ และสรุปแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน

    ตอบลบ