เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย

นิทานคือ โลกของภาษา ซึ่งเกิดจากเรื่องเล่าที่ผูกเรื่องขึ้นด้วยภูมิปัญญา ภาพและตัวหนังสือที่ปรากฏในหนังสือนิทานเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน นิทานจึงเป็นงานเขียนที่มุ่งให้ความบันเทิง สอดแทรก แนวคิด คติสอนใจ และให้ความรู้ในด้านต่างๆ เช่น นิทานเกี่ยวกับธรรมชาติ และวิถีชีวิตตามธรรมชาติของสัตว์ต่าง นิทานลูกสัตว์” จึงเป็นศูนย์รวมสาระความรู้ ความบันเทิง ที่จะสามารถช่วยให้นักเรียนได้ซึมซับคุณค่า สิ่งดีงามและสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้ เชื่อมโยงสู่หลักภาษา และเป็นแรงบันดาลใจในการนำไปประยุกต์ใช้กับตนเองหรือ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

week8

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย
ภาคเรียนที่  ๑  Quarter    ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                               ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
สัปดาห์ที่  ๘  วันที่  ๒๙-๓๐ มิถุนายน  ๑-๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘                    เวลาเรียน ๕  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
หน่วยการเรียนรู้ : นิทานลูกสัตว์

......................................................................................................................................................................................................................................


หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์ :         ลูกหมา

สาระสำคัญ :       การทำสิ่งใดควรรู้จักพอประมาณ พอเพียง ไม่โลภมาก หากทุกคนรู้และเข้าใจถึงผลที่จะตามมาก็จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
Big  Question :                                 เมื่อเราทำสิ่งใดเกินประมาณจะทำอย่างไร และนักเรียนจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไรให้ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงร่วมกับสังคมโดยมีความสุข

เป้าหมายย่อย :                                    นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผลสามารถอ่านและเขียนคำศัพท์จากเรื่อง นำมาประยุกต์ใช้ในการเชื่อมประโยคโดยมีคำเชื่อมต่าง ๆ ในการแต่งนิทานได้อย่างสร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด สามารถฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟัง การอ่านนิทานไปใช้ในชีวิตได้





Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









จันทร์
โจทย์
 อ่านวิเคราะห์นิทานเรื่อง ลูกหมา

คำถาม:
เมื่อเราทำสิ่งใดเกินประมาณจะทำอย่างไร และนักเรียนจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไรให้ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงร่วมกับสังคมโดยมีความสุข
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share แผนภาพโครงเรื่อง
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านนิทาน และสรุปนิทานที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานลูกสัตว์ เรื่อง ลูกหมา
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนา ทักทาย ครูเล่าเรื่องเกี่ยวกับการทำอะไรมากเกินประมาณแล้วมีผลกับตัวเอง นักเรียนเคยทำอะไรมากเกินไปแล้วมีผลกับตัวเองบ้าง รู้สึกอย่างไร
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
ใช้:
  นักเรียนเขียนสรุปเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก (สรุปเรื่องย่อ)
ขั้นสรุป   
 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้
ชิ้นงาน
เขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน (Mind mapping)
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการทำความดีให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน

ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จาการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- อ่านออกเสียง การอ่านในใจ
- เขียนสรุปองค์ความรู้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









อังคาร
โจทย์
 เขียนตามคำบอก

คำถาม:
- คำศัพท์สำคัญต่อการสื่อสารอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแต่งประโยคความเดียว
- Wall Thinking ผลงานการแต่งประโยคความเดียว
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้ประโยคความเดียว
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานลูกสัตว์ เรื่อง ลูกหมา

ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่อ่าน
ขั้นสอน
ชง:
-  นักเรียนเขียนคำศัพท์ใหม่จากเรื่องที่อ่าน (เขียนตามคำบอก)
-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “คำแต่ละคำมีความหมายอย่างไร” นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และวาดภาพประกอบคำศัพท์
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำศัพท์และความหมายของคำ รวมทั้งการนำคำไปใช้
 - นักเรียนช่วยกันเสนอแนะเกี่ยวกับการอ่านออกเสียงคำศัพท์ ความหมายของคำศัพท์ และการนำคำศัพท์ไปใช้ พร้อมทั้งช่วยกันเสนอแนะคำศัพท์เพิ่มเติมอีกครั้ง
ใช้:
นักเรียนนำคำศัพท์ ที่เขียนตามคำบอกไปแต่งเป็นประโยคความเดียว
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ พร้อมทั้งร่วมเสนอแนะเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องคำเชื่อมประโยคเพิ่มเติม
ชิ้นงาน
แต่งประโยคและวาดภาพประกอบอย่างสร้างสรรค์ (คำศัพท์ที่เขียนตามคำบอก)
ภาระงาน
- แต่งประโยคจากคำศัพท์
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ความรู้
- คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
- ประโยคที่เป็นประโยคความเดียว

ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบประโยค
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเขียนแจกลูกคำ เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
-เห็นอกเห็นใจผู้อื่น




Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
พุธ
โจทย์
 การใช้คำเชื่อมมาเชื่อมประโยค

คำถาม:
นักเรียนจะแต่งเรื่องจากสิ่งรอบตัวโดยใช้คำเชื่อมมาเชื่อมประโยค และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแต่งประโยคและคำเชื่อมประโยค
- Wall Thinking ผลงานการแต่งประโยคที่มีคำเชื่อม
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้คำเชื่อม
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานลูกสัตว์ เรื่อง ลูกหมา
ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่เรียนรู้เกี่ยวกับคำเชื่อม
ขั้นสอน
ชง:
ครูเขียนให้ดูรูปภาพ แล้วตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะแต่งนิทานได้อย่างไรโดยใช้คำเชื่อมมาเชื่อมสองประโยคเข้าด้วยกัน ”
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเชื่อมประโยคสองประโยคเข้าด้วยกันโดยใช้คำเชื่อมประโยค
ใช้:
นักเรียนแต่งประโยคจากภาพ โดยมีคำเชื่อมประโยค
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

ชิ้นงาน
แต่งประโยคจากคำเชื่อมประโยค

ภาระงาน
-แต่งประโยคความรวมจากคำเชื่อมประโยค
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเล่นเกมคำเชื่อมประโยค
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ความรู้
- คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
- คำเชื่อมและการแต่งประโยคความรวม
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบประโยค
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
 คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น




Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
พฤหัสบดี
โจทย์
 การใช้ คำเชื่อม แต่งประโยคความเดียวและความรวม

คำถาม:
นักเรียนจะแต่งการ์ตูนช่องโดยใช้คำเชื่อมประโยค และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแต่งประโยคและคำสรรพนาม
- Wall Thinking ผลงานการแต่งประโยคที่มีคำเชื่อม
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้คำเชื่อม
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- กระดาษ
ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่เรียนรู้เกี่ยวกับคำเชื่อม
ขั้นสอน
ชง:
ครูเขียนให้ดูรูปภาพ แล้วตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะแต่งประโยคได้อย่างไรโดยให้ประโยคของเรามีคำเชื่อมประโยค”
เชื่อม:
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน ครูพานักเรียนเล่นเกมเติมคำเชื่อมประโยค
- นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำเชื่อมและเสนอแนะการนำไปใช้อย่างเหมาะสม
ใช้:
นักเรียนแต่งการ์ตูนช่อง เป็นประโยคความเดียว และความรวมโดยกำหนดให้แต่ละประโยคมีคำเชื่อมประโยค
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง”


ชิ้นงาน
การ์ตูนช่อง

ภาระงาน
-เขียนการ์ตูนช่อง ประโยคความเดียว ประโยคความรวม คำเชื่อม
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ความรู้
- คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
- คำเชื่อม การแต่งประโยคคามเดียวและความรวม

ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบประโยค
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งประโยค
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น


Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









ศุกร์
โจทย์
ประโยคความเดียว ประโยคความรวมและคำเชื่อม

คำถาม:
นักเรียนจะสามารถนำคำเชื่อมไปใช้กับการแต่งประโยคได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรื่องที่เรียนรู้ (ประโยค คำเชื่อม)
- Show and Share สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำเชื่อมประโยค
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานลูกสัตว์ เรื่อง ลูกหมา
ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรียนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด:
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากนิทานเรื่อง ลูกแมว จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไร
- นักเรียนจะสามารถนำคำเชื่อมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
เชื่อม:
-ครูและนักเรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อคิดจากนิทาน
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำเชื่อมที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ใช้:
นักเรียนสรุปองค์ความรู้ตามความสนใจ เช่น นิทานช่อง ความเรียง การ์ตูนช่อง
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ชิ้นงาน
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)

ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับคำเชื่อม
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ความรู้
- คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
- คำเชื่อมและการแต่งประโยคความรวม

ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบ
 แผนภาพความคิด ที่ได้จากการอ่าน และการเรียนรู้คำเชื่อมในประโยค
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
 - ทำงานร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

ตัวอย่างชิ้นงาน






กิจกรรมการเรียนรู้



1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน

    สัปดาห์นี้ นักเรียนอ่านนิทานเรื่องลูกหมา ครูเริ่มด้วยการตั้งคำถามว่า ใครเคยทำอะไรเกินพอดีบ้าง แล้วเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น บางคนบอกเล่าให้ฟัง เช่น เล่นเยอะ ทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง ครูให้อ่านนิทาน เมื่ออ่านจบครูถามได้ข้อคิดอะไรจากเรื่องที่อ่านบ้าง และถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างในนิทานจะทำอย่างไร พี่ออย : เจ้าโตเล่นเยอะทำให้เจ้าเสื้อไม่ชอบ พี่โซ่ : เจ้าโตเล่นเยอะโดยที่ไม่รู้ว่าเพื่อนกำลังทำอะไรอยู่ พี่ใบตอง : เจ้าเสือชอบทำงานแต่เจ้าโตจะชอบไปแกล้ง พี่อลิซท์ : เจ้าโตชอบไปแกล้งเจ้าเสื้อขณะที่เจ้าเสื้อคาบปิ่นโตไปส่งเจ้าของที่ไรเลยทำให้เจ้าเสื้อไม่ชอบและคาบปกคอของเจ้าโตสะบัดลงท้องร่องน้ำ จากนั้นครูให้นักเรียนสรุปเรื่องราว ข้อคิด ตัวละคร คำศัพท์ใหม่จากเรื่อง วันต่อมาเขียนตามคำบอก และให้นักเรียนนำมาแต่งเป็นประโยคโดยครูเพิ่มคำเชื่อมเข้าไปในคำศัพท์ด้วย วันต่อมาครูให้นักเรียนแต่งประโยคความรวมที่มีคำเชื่อมประโยค พร้อมทั้งแยกประโยคนั้นออกเป็นประโยคความเดียวด้วย วันต่อมานักเรียนได้แต่งนิทานจากคำเชื่อมประโยค

    ตอบลบ